ในส่วนของ Metronome นั้นปกติถ้าเราไม่เลือก Use PC Speaker เครื่องจะกำหนด Metronome ให้เสียงมาที่
MIDI Note ซี่งจะเป็น โน้ต F#4 คือเสียงของไฮแฮท (Hi-Hat) ซึ่งก็ใช้ได้ แต่มันจะไม่ชัดเจนเวลาเราบันทึกเสียงของ
กลองต่างๆ ผมจึงเลือกใช้ในส่วนนี้เป็น Use PC Speaker จะดีกว่าเพราะเวลาเราบันทึกเสียงกลองจะได้แยกชัดเจน
ว่าส่วนไหนเป็น Metronome และส่วนไหนเป็นส่วนของข้อมูลของกลองที่เราป้อนข้อมูลเข้าไป ในการบันทึกแบบ
Realtime Recording นั้นถ้าเรามีซินธิไซเซอร์หรือคีย์บอร์ดอะไรก็ได้ที่มีระบบมิดี้แต่เมื่อมาใช้กับคอมฯ อย่าลืมต้อง
ใช้ MiDi Box ที่เชื่อมต่อกับคอมฯ ด้วย ซึ่งหาซื้อได้ตามที่พันธ์ทิพย์หรือร้านขายคอมฯทั่วๆ ไป ดังรูป



เมื่อเราต่อระบบมิดี้แล้ว เมื่อเปิด C.W.8 และตั้งส่วนต่างๆ ที่พูดคุยไปคราวที่แล้วคราวนี้เมื่อเริ่มการบันทึก ซึ่งในส่วนของ
การบันทึกนั้นมีหลายลักษณะ ซึ่งเราดูจากรูปซึ่งจะเห็นคำว่า “Sound On Sound” ถ้าเราคลิกซ้ายที่ช่อง Sound On Sound นี้เราก็จะเห็นรายละเอียดในส่วนการบันทึกลักษณะต่างๆ
3 แบบด้วยกัน คือ 1. Sound On Sound 2. Overwrite 3. Auto Punch



จากรูปเราจะคลิกที่สี่เหลี่ยมที่เป็นส่วนของหน้าต่างที่บอกรายละเอียดเพิ่มเติมของการบันทึก (Record Option) โดยคลิกซ้ายก็จะเห็นรายละเอียดการบันทึกทั้ง 3 แบบเช่นเดียวกัน โดยให้เลือกคลิกซ้ายตามแบบที่เราต้องการบันทึกดูรูป
1. Sound On Sound เป็นการบันทึกซ้ำโดยที่ไม่ลบข้อมูลที่บันทึกไปก่อนแล้ว
2. Overwrite (Replace) เป็นการบันทึกที่จะลบข้อมูลที่บันทึกไปก่อนแล้ว
3. Auto Punch (Replace) เป็นการบันทึกในการแก้ไขเป็นจุดๆ ซึ่งเรามักเรียกกันว่า
“เจาะ” ซึ่งจะลบข้อมูลที่บันทึกไปก่อนแล้ว เมื่อเราเลือกวิธีการบันทึกในลักษณะต่างๆ ได้แล้วก็เริ่มการบันทึก

ลำดับขั้นตอนบันทึกข้อมูล

ส่วนมากการบันทึกข้อมูลนั้นจะเริ่มจากการบันทึกข้อมูลของกลองเป็นอันดับแรก ซึ่งจะบันทึกข้อมูลของกลองแยกเป็นแทรค
แต่ละแทรคก็ได้หรือจะรวมก็ได้ แล้วแต่ความชอบ แต่ถ้าแยกแทรคเวลาแก้ไขจะง่ายกว่าเมื่อบันทึกข้อมูลของกลองเสร็จแล้ว
เรียบร้อยแล้วต่อไปก็จะเป็นการบันทึกข้อมูลของเบส (BASS) แล้วตามด้วยเปียโนหรือกีตาร์ก็ได้ การที่เราต้องบันทึกกลอง
และเบสก่อนเพราะทำให้เราได้อารมณ์ของเพลงมากที่สุดว่าเพลงนั้นเป็นสไตล์ดนตรีในลักษณะใดว่าจะเป็น Rock, Jazz
หรือ Latin หรืออื่นๆ ทำให้เวลาเราบันทึกเปียโนและกีตาร์และข้อมูลส่วนอื่นๆ เข้ากับเพลงได้ดีขึ้น



ในการบันทึกนั้นถ้าเราไม่มีคีย์บอร์ด เราก็สามารถบันทึกโดยใช้ส่วนของ “Virtual Piano” ซึ่งมีมากับ C.W.8 ได้ โดยเลือก
จากหน้าต่าง C.W.8 ในหน้า Track View เลือกที่ “Tools” แล้วคลิกซ้ายเลือกที่ MIDI DEVICES ก็จะเห็นในส่วนของ
MIDI PORTS ดังรูป



เราจะเห็นจากรูปด้านซ้ายให้เลือกโดยคลิกให้แถบสีขึ้นที่ TTS Virtual Piano In เสร็จแล้วคลิก O.K. หน้าต่างก็จะปิดลง
ต่อไปก็มาคลิกซ้ายที่ Tools อีกครั้งแล้วมาเลือกในส่วนล่างสุดที่ “Virtual Piano” แล้วคลิกซ้ายก็จะเห็นรูป ดังรูป

ซึ่งจากรูปเราอาจคลิกที่ Help เพื่อดูรายละเอียดต่างๆ โดยเลือกที่ Contents ซึ่งจะบอกรายละเอียดในส่วนต่างซึ่งเราจะใช้
เมาส์ในการเลือกตัวโน้ตหรือใช้คีย์บอร์ดของคอมฯในการเลือกตัวโน้ตในการบันทึก ซึ่งเราใช้คีย์บอร์ดของคอมฯในส่วนของ
อักษร 2 แถวบน และ 2 แถวล่างดังรูป

คีย์บอร์ดของคอมฯ 2 แถวบนที่แทนค่าตัวโน้ตในการบันทึกข้อมูล

คีย์บอร์ดของคอมฯ 2 แถว ล่างที่แทนค่าตัวโน้ตในการบันทึกข้อมูล
ในส่วนของ Pitch Bend เราสามารถใช้เป็นแป้นคีย์บอร์ดของคอมฯ โดยใช้ปุ่ม INSERT ในการเพิ่ม Pitch Bend และ
ปุ่ม Delete ในการลด Pitch Bend

ในส่วนของ Modulation
เราสามารถใช้ปุ่ม Home ในการเพิ่ม Modulation และปุ่ม End ในการลด Modulation
ในส่วนของ Velocity เราสามารถใช้ปุ่ม Page up ในการเพิ่มความดัง และปุ่ม Page Down ในการลดความดัง
ในการเปลี่ยน Octave ใช้ปุ่มลูกศรซ้าย-ขวาในการเลือก Octave ของโน้ตที่ใช้เป็นคีย์บอร์ด 2 แถวบนในการเลื่อน Octave
ให้สูงขึ้นหรือต่ำลงและใช้ปุ่มลูกศรขึ้น-ลงในการเลื่อน Octave ของโน้ตที่ใช้เป็นคีย์บอร์ด 2 แถวล่าง
ข้อสังเกต ใน Virtual Piano นั้นในรูปเสียงของเปียโนมีมากกว่าเสียงเปียโนจริง ซึ่งเปียโนจริงมีแค่โน้ต A1 ถึง C9 ประมาณ
7 Octavs กับ 3 ตัวโน้ตเท่านั้น ดังนั้นเวลาบันทึกต้องระวังด้วย
เมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มกดปุ่ม Record แล้วเริ่มบันทึกข้อมูลได้เลย!


: Home : News&Events : Board : Cool! : Download : About Us : Overdrive : Commusic : Prart Musicschool : VDO :