ยินดีที่ได้พบกันอีกแล้วนะครับ! ในส่วนของ cw.8 คราวนี้มีข่าวคราวมาฝากกันว่าเป็นที่น่ายินดี เพราะทางบริษัท Twelve Tone Systems นั้นได้ออก Cakewalk version 9 เป็นที่เรียบร้อยซึ่งเรียกชื่อว่า “LHome Studio” ไปเมื่อวันที่ 16 กันยายน 1999 ที่ผ่านมานี้ ซึ่งหลายคนที่เล่นอินเตอร์เน็ตก็คงเคยเข้าไปดูได้ในเว็ปไซด์ www.Cakewalk.Com ถ้าหลายท่านที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ไม่เป็นไร แล้วจะพยายามรวบรวมข้อมูลมาฝากกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า cw.8 ที่เราคุยกันอยู่ตอนนี้จะไม่ทันสมัย คงต้องขึ้นกับผู้ใช้นั่นแหละเพราะหลายๆ คนในตอนนี้ยังชอบใช้ cw.3 หรือ cw.7 อยู่กันเลย เพราะหลายๆ คนคงจะคุ้นกับหน้าต่างของแต่ละรุ่นนั้นๆ อยู่ก็ไม่ว่ากันแต่ขอให้ใช้ประโยชน์กับโปรแกรมนั้นๆ ให้คุ้มค่าก็แล้วกัน เอาละ! เรามาคุยกันต่อในส่วนของ cw.8 กันต่อนะครับ!

เมื่อคราวที่แล้วเราพูดถึงการใช้ Virtaul Piano ในการบันทึกข้อมูลซึ่งถ้าเราใช้ส่วนนี้ในการบันทึกค่าของความดัง (Velocity) นั้นมันจะเท่ากัน และมีค่าตายตัวต่างจากการใช้ระบบมิดี้ที่ใช้ซินธิไซเซอร์เป็นตัวส่งข้อมูล ก็คงต้องใช้ตามความสามารถที่จะจัดหามากันได้ละครับ
คราวนี้เรามาคุยถึงส่วนของ Software Synthesis เจ้าตัวนี้มันเป็นโปรแกรมเสียงที่เราสามารถหามาได้จากเพื่อนๆ หรือเป็นโปรแกรมที่อาจจะติดอยู่บนบอร์ดเลยเวลาเราซื้อคอมฯ มา ซึ่งเราจะรู้ได้ว่าเครื่องของเรามีตัวอะไรอยู่บ้างโดยการคลิกที่ tools บนหน้าต่างของ cw.8 แล้วเลือกที่ “MIDI DEViCES” แล้วคลิกซ้ายไปก็จะเห็นหน้าต่างตามรูป



ซึ่งในส่วน Output Port จะแสดงส่วนของการเชื่อมต่อระบบมีดี้ที่เราได้คุยกันไปแล้ว รายการต่างๆ ในส่วนของ Output Port นั้นก็อาจจะมีส่วนของ Software Synthesis อยู่หลายๆ ตัวซึ่งจะเป็น Creative Music Synth หรือ SB16 MIDI out หรือบางคนก็มีชื่ออื่นๆ อีกเช่น C-Media OPL2 lopL3 Synthesis, C-Media SoftMidi Synthesis. ถ้าหลายๆ ท่านใช้เจ้าตัว Software Synthesis เป็นตัว Sound Module ในการโปรแกรมเพลง หรือเล่นเพลงที่เราบันทึกก็ใช้ได้ แต่ให้สังเกต ถ้าเราใช้ในการบันทึกข้อมูลนั้นมันมีปัญหาเรื่องของการล่าช้า (Delay) เพราะเราก็ข้อมูลบันทึกไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ซินธิไซเซอร์ต่อระบบมิดี้ หรือกดที่แป้นของคอมฯ มันมีเสียงออกมาตามหลังเมื่อเรากดคีย์ไปแล้ว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตามชื่อของโปรแกรม Software Synthesis คือเป็นโปรแกรมในการสร้างเสียงสังเคราะห์ เพราะทุกครั้งที่เรากดคีย์ส่งข้อมูลไปในคอมฯ แล้วคอมฯ ก็จะรับข้อมูลคำสั่งจากเรา แล้วนำไปสร้างเสียงทำให้เกิดการล่าช้า ( Delay) แต่ถ้าใช้ในการฟังเพลงที่เราบันทึกไม่มีปัญหา แต่เสียงที่ได้มันสู้เสียงของซาวด์การ์ด หรือซาวด์โมดุลไม่ได้ เราจะพูดกันต่อไปในส่วนที่เราต้องตั้งค่าในการบันทึกอีก


การตั้งค่าของ MIDI TIMING RESOLUTION
งานแต่ละงานนั้นจะต้องมีการตั้งค่าของ timing resolution หรืออาจเรียกว่า timebase ก็ได้ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงตัวโน้ต (Resolution) ของระบบมิดี้ซึ่งค่าของ Resolution นี้มีการวัดค่าเป็นติ๊ก ( tick ) หรือ Pulses ตัวค่าโน้ตตัวดำ ( QUARTER NOTE ) ซึ่งมีตัวย่อว่า “PPQ” หรือ Pulses Per Quarter Note ซึ่งค่าเริ่มต้นที่มากับเครื่องของโปรแกรม cw.8 (Default) นั้นมีค่าอยู่ที่ 120.PPQ ซึ่งเป็นค่าที่แม่นยำ และใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ซึ่งจะมีผลให้โน้ตตัวดำมีค่า = 120 ticks. โน้ตเขบ็ต 1 ชั้นมีค่า = 60 ticks และโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น อยู่ที่ 40 ticks
แต่สำหรับงานเพลงบางงานซึ่งต้องการค่า timebase ที่แตกต่างซึ่งต้องการค่า timebase ที่มีรายละเอียดตัวอย่างเช่น คุณต้องการโน้ต
เขบ็ต 2 ชั้น 7 พยางค์ ซึ่งโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น 7 ตัว มีค่าเท่ากับโน้ตตัวดำ 1 ตัว ซึ่งต้องการให้คอมฯ ทำงานได้แม่นยำในการแสดงค่าตัวโน้ต 7 พยางค์ ซึ่งต้องใช้ค่า timebase ที่หารด้วย 7 ได้ลงตัวอย่างเช่นค่า timebase =168 PPQ ใน cw.8 นั้นจะใช้ timebase ที่คุณเลือกสำหรับงานนั้นๆ และจะเก็บค่า timebase ไว้ในแต่ละเพลงที่เราตั้งค่า timebase ไว้เพื่อเป็นตัวตัดสินใจค่าของระยะห่างของ tick ใน “Now-time” (ซึ่งจะพูดต่อไป)


การตั้งค่า timebase.

1. คลิกเลือกที่ tool แล้วเลือก Project option แล้วคลิกที่ Clock
2. เลือก timebase ที่คุณต้องการใช้ซึ่งมีค่าจาก 48, 72, 96, 120, 144, 168, 192, 216, 240, 360, 384, 480 เลือกใช้ค่าตามต้องการ
3. คลิก O.K.
NOW-TIME
ทุกๆ งานเพลงจะต้องมีค่าตำแหน่งของเพลง (Current time) ซึ่ง cw.8 เรียกว่า “NOW-TIME” ซึ่งจะบอกตำแหน่งของเพลงนั้นๆ ว่าเริ่มต้น และจบตรงไหนซึ่ง NOW-TIME จะแสดงอยู่ 2 ส่วนบนหน้าต่างดังรูป





1. ใน transport toolbar 2. ใน Position toolbars.
NOW-TIME จะแสดงใน 2 ลักษณะด้วยกัน
รูปแบบที่1. แสดงจำนวนห้อง, จังหวะติ๊ก (tick) เรียกย่อว่า MBT.
ตัวอย่างเช่น 1:01:00 = จังหวะที่ 1 ของห้องที่ 1
4:02:060 = ห้องที่ 4, จังหวะที่ 2, อยู่ที่ติ๊กที่60.
รูปแบบที่ 2. จะบอกในลักษณะของ SMPTE TIME ซึ่งถ้าเราเขียนเพลงภาพยนต์มันจำเป็นหรือจะเป็นเพลงโฆษณาทาง TV ก็ตาม ในลักษณะนี้จะบอกค่าเป็น เวลา คือ เป็นชั่วโมง, นาที, วินาที และเฟรม (Frame) ซึ่งไม่จำเป็นว่างานเพลงทุกเพลงต้องเริ่มต้นที่ศูนย์

ตัวอย่างเช่น
00:00:00:00 = จุดเริ่มต้นของงานเพลง
00:05:10:00 = 5 นาทีกับ 10 วินาทีจากจุดเริ่มต้นเพลง
00:30:00:00 = 1 ชม.กับ 30 นาทีจากงานเพลง
00:00:00:05 = 5 เฟรมจากจุดเริ่มต้นของงานเพลง

การเปลี่ยน NOW-TIME

ใน cw8. มีการตั้ง NOW-TIME ได้หลายวิธีคือ
1. คลิก Time ในหน้าต่าง track, Piano Roll, staff หรือ Audio View
2. คลิกบน NOW - TIME ใน transport toolbar แล้วใส่ค่า NOW -TIME แล้ว Enter
3. เลือก GO TIME หรือกด F5 บนแป้นของคอมฯแล้วใส่ค่า TIME ที่ต้องการแล้วคลิก O.K.
4. คลิกบนหน้าต่าง Event list View

เมื่อใสค่า time ในลักษณะรูปแบบของ MBT เราสามารถใช้ค่าของเครื่องหมาย Colon, Space Bar หรือ Bertical
Bar ในการแยกส่วนของ NOW-TIME เช่น

ค่าที่ใส่ NOW-TIME จะตั้งค่าเป็น
2 2:00:000
2/1 2:02:000
9:1 9:01:000
4 2 0 4:02:000
5/1:30 5:01:030

บางครั้งเราต้องการให้ NOW-TIME ที่ชัดเจน และแสดงเป็นตัวใหญ่เราสามารถเลือกโดยคลิดที่ View แล้วเลือกที่ 2:2 Big time ก็เห็น NOW-TIME แสดงเป็นตัวเลขสีแดงตัวใหญ่ ทำให้เรามองเห็นชัดเจนเวลาอยู่ไกลจากคอมฯ ซึ่งถ้าเราไม่ชอบสีแดงอาจเปลี่ยนเป็นสีอื่นๆ
ได้โดยคลิกขวาที่ Big time หรือตัวเลขใหญ่นั้นแล้วเลือกสีตามชอบแล้วคลิก O.K. ดู Big time ตามรูป
ส่วนของ NOW-TIME สำคัญมากสำหรับงานเพลงในห้องบันทึกเสียงซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกต่างๆศึกษาให้เข้าใจนะครับแล้วคราวหน้ากลับมาพบกันในการตั้งค่าอื่นๆและการบันทึกข้อมูลของกลองในส่วนต่างๆ ถ้าเพื่อนๆ มีเวลาลองทดลองโปรแกรมดูนะครับ...โชคดีแล้วพบกัน

 


: Home : News&Events : Board : Cool! : Download : About Us : Overdrive : Commusic : Prart Musicschool : VDO :